แต่การติดตั้ง ‘หลังคาโซลาร์เซลล์’ ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายที่เราจะเรียกช่างมาแล้วจบเลยทีเดียว เพราะต้องใช้ช่างเฉพาะทางและเราต้องศึกษาข้อมูลให้ละเอียด เพื่อความคุ้มค่าที่จะได้รับกลับคืนมา ครั้งนี้เราจึงมีข้อควรรู้ไว้ก่อนลงมือติดตั้งโซลาร์เซลล์มาให้ศึกษากันอย่างละเอียดก่อน
ทำความรู้จักโซลาร์เซลล์กันก่อน
หลังคาโซลาร์เซลล์ หรือ หลังคาพลังงานแสงอาทิตย์ เป็นพลังงานสะอาดที่รับมาจากแสงอาทิตย์และเปลี่ยนให้เป็นพลังงานไฟฟ้ากระแสตรง ด้วยกระบวนการ Photovoltaic Effect จากนั้นส่งไปยังอินเวอร์เตอร์ เพื่อเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้ากระแสตรงเป็นกระแสสลับ นำมาใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ภายในบ้าน ช่วยลดค่าไฟฟ้าในบ้านและการลงทุนในระยะยาว ซึ่งระบบแผงโซลาร์เซลล์แบ่งออกเป็น 3 ระบบ
ระบบออนกริด (On-Grid System)
ระบบที่ต่อเชื่อมสายส่งการไฟฟ้า มีแผงโซลาร์เซลล์ต่อเข้ากับกริดไทอินเวอร์เตอร์ จากนั้นเปลี่ยนไฟฟ้ากระแสตรงมาเป็นกระแสสลับให้ใช้งานในบ้านได้ ซึ่งระบบนี้จะเชื่อมต่อกับระบบจำหน่ายไฟของการไฟฟ้านครหลวง หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จึงเป็นระบบที่หลายบ้านนิยมติดตั้งกัน เพราะสามารถขายคืนให้การไฟฟ้าฯ ได้ แต่ก่อนติดตั้งต้องขออนุญาตก่อนเสมอ
ระบบไฮบริด (Hybrid)
ข้อแตกต่างระบบนี้อยู่ที่มีแบตเตอรี่มาสำรองพลังงาน สำหรับใช้งานในเวลาที่ไม่มีแสงอาทิตย์ และกรณีที่ผลิตกระแสไฟฟ้ามากพอเกินกว่าการใช้งานแล้ว ระบบจะนำกระแสไฟฟ้าชาร์ตเข้าแบตเตอรี่ เพื่อนำไปใช้งานต่อในเวลาอื่นๆ ซึ่งมีประโยชน์มากเมื่อบ้านไหนที่ไฟตกบ่อยก็สามารถดึงเอาไฟฟ้าในแบตเตอรี่มาใช้งานไดh
ระบบออฟกริด (Off-Grid System)
ระบบนี้การทำงานจะเหมือนกับ ‘ออนกริด’ และ ‘ไฮบริด’ คือจะรับพลังงานมาเข้าอินเวอร์เตอร์ แล้วเปลี่ยนไฟฟ้ากระแสตรงเป็นไฟฟากระแสสลับมาใช้งานในบ้าน รวมถึงการผลิตกระแสไฟฟ้าเข้าชาร์ตในแบตเตอรี่ด้วย แต่ข้อแตกต่างอยู่ตรงไม่ได้เชื่อมต่อเข้ากับระบบจำหน่ายของการไฟฟ้านครหลวง หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การติดตั้งจะไม่จำเป็นต้องขออนุญาตก่อน ระบบนี้จึงเหมาะมากกับบ้านที่กระแสไฟฟ้ายังเข้าไม่ถึง
อุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการติดตั้ง
แผงโซลาร์เซลล์ (Photovoltaic/PV) ทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานแสงแดดให้เป็นพลังงานไฟฟ้า โดยก่อนจะตัดสินใจเลือกขนาดของแผงต้องทราบก่อนว่าเราต้องการผลิตกระแสไฟฟ้ามากน้อยเพียงใด และต้องใช้ขนาดกำลังวัตต์ไหนจึงจะเหมาะสม ซึ่งมีจำหน่ายตั้งแต่ขนาด 10-285 วัตต์ แต่ควรเลือกแผงโวลาร์เซลล์ให้มีกำลังไฟมากกว่าการใช้งานอุปกรณ์ไฟฟ้าอย่างน้อย 20 เปอร์เซนต์ รวมถึงอายุการใช้งานของแผงโซลาร์เซลล์จะอยู่ที่ 25 ปี แต่เมื่อเวลาผ่านไปนานถึง 10 ปี ประสิทธิภาพการผลิตไฟก็จะลดลงไปตาม ดังนั้นก่อนจะเลือกต้องคำนึงถึงปัจจัยนี้ตรงนี้ก่อน
แผงโซลาร์เซลล์มีอยู่ด้วยกัน 3 ชนิด
เครื่องแปลงไฟ (Inverter) อุปกรณ์ที่จะเปลี่ยนกระไฟฟ้า ควรเลือกกำลังวัตต์ให้มากกว่ากำลังวัตต์ของเครื่องใช้ไฟฟ้ารวมทั้งหมดในบ้านประมาณ 30-40 % ปัจจุบันมีอยู่ 2 แบบคือ Off grid inverter และ On grid inverter
แบตเตอรี่ (Battery) อุปกรณ์สำหรับเก็บไฟฟ้าจากแผงโซลาร์เซลล์ ซึ่งแบตเตอรี่ที่เหมาะสมกับระบบไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์มากที่สุดคือ แบตเตอรี่แบบจ่ายประจุสูง (Deep discharge battery) มีคุณสมบัติในการจ่ายพลังงานในปริมาณน้อยแต่ต่อเนื่อง โดยที่ไม่เกิดความเสียหายกับแบตเตอรี่
เครื่องควบคุมการชาร์จไฟ (Solar control charger) ทำหน้าที่คุมแรงดันและกระแสไฟฟ้าที่เข้าสู่แบตเตอรี่ในปริมาณที่เหมาะสม ซึ่งเครื่องควบคุมชาร์จที่ดีจะสามารถรีดพลังงานจากแสงแดดไปเก็บไว้ในแบตเตอรี่ได้มากที่สุด โดยราคามีตั้งแต่หลักร้อยจนถึงหลักหมื่น
อุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร (Over Current Protection & Accessaries)
หลักในคำนึงพื้นที่การติดตั้ง
ในข้อนี้เราต้องศึกษาพื้นที่ในบ้านให้ดีเสียก่อน ว่าควรติดตั้งทิศทางและตำแหน่งไหน ซึ่งมีหลักง่ายๆ ไม่กี่ข้อให้เข้าใจกันเสียก่อน
ทิศทางแสงแดด – ถ้าไม่มีแสงอาทิตย์โซลาร์เซลล์ที่มีอยู่ก็เหมือนไร้ค่าในทันที ซึ่งแน่นอนอยู่แล้วว่าทิศทางเหมาะสมที่สุดเป็นทิศตะวันตก หรือทิศตะวันตกเฉียงใต้ ที่เป็นทิศทางการโคจรของดวงอาทิตย์ที่ได้ปริมาณแสงแรงสุด แต่ทิศทางตรงนั้นก็ต้องไม่มีวัตถุใดๆ มาบดบังแสงด้วย รวมถึงองศาความลาดชันควรประมาณ 15-20 องศากับพื้นดิน เพื่อทำให้แสงอาทิตย์กระทบตั้งฉากกับแผงโซลาร์เซลล์ให้มากที่สุด
ตำแหน่งการติดตั้งแผง – ปกติแล้วหลายๆ บ้านก็นิยมติดอยู่บนหลังคา ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ดีสุดในการกระทบกับแสงอาทิตย์ แต่ทางที่ดีควรให้วิศวกรผู้เชี่ยวชาญมาตรวจสอบโครงหลังคาเสียก่อน ว่าสามารถรับน้ำหนักของแผงโซลาร์เซลล์ได้หรือไม่ นอกจากนี้หากต้องการไฟฟ้าให้ได้ประสิทธิภาพที่ดีควรเผื่อพื้นที่ว่างไว้ในพื้นที่ที่ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ประมาณ 20 % ของพื้นที่ที่จะติดตั้ง
ติดตั้งเท่าไหร่ถึงจะคุ้มทุน
ใครๆ ก็บอกติดตั้งโซลาร์เซลล์คุ้มอยู่แล้วในระยะยาว แต่เราต้องมาคำนึงถึงการใช้ไฟฟ้าในบ้านของเราก่อนว่าควรติดตั้งเท่าไหร่ดีจึงจะพอดีกับการใช้งานในครัวเรือน ซึ่งเรามาเริ่มต้นคำนวณค่าไฟกันก่อน ตามขั้นตอนตามนี้
ทั้งหมดนี้ยังไม่รวมกับค่าใช้จ่ายอุปกรณ์อื่นๆ ที่ต้องนำมาใช้ในการติดตั้งทั้ง สายไฟฟ้า / ท่อร้อยสาย / กริดไทร์อินเวอร์เตอร์ / AC Breaker / Combiner Box และอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งรวมแล้วจะประมาณ 300,000 บาท ขึ้นอยู่กับคุณภาพที่ใช้งาน แต่ถ้าถามว่าคุ้มไหม? ต้องลองคำนวณในแบบข้างกับผลระยะยาว เพราะบ้านเป็นสิ่งที่จะอยู่กับเราไปอีกนานครับ
ขั้นตอนขายคืนให้รัฐ
นอกจากติดตั้งเพื่อใช้งานในบ้านแล้ว เจ้าของมิเตอร์ยังสามารถขายคืนให้กับรัฐได้ด้วย ในโครงการโซลาร์ภาคประชาชน ลงทะเบียนยื่นความจำนงได้ที่ https://spv.mea.or.th/ โดยมีเงื่อนไขข้อกำหนดเบื้องต้นคือ
ทีมงาน กอล์ฟการช่าง ให้บริการ ติดตั้งหลังคาไวนิล , ติดตั้งหลังคาเมทัลชีท , ติดตั้งหลังคาแผ่นใส , ติดตั้งมุ้งลวด , ติดตั้งเหล็กดัด , ติดตั้งประตูรีโมท , เปลี่ยนแผ่นโครงหลังคา ,ติดตั้งลูกหมุ่น , ติดตั้งประตูรีโมท , ติดตั้งรางน้ำฝน , ติดตั้งปล่องดูดควัน , ติดตั้งพื้นไม้ ,ไม้คอนวูด , conwood
สอบถามเพิ่มเติม โทร. 083-7089990 หรือ โทร. 098-9539662 LINE : golf99na